วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์

กลยุทธ์การตลาดของเบียร์ลาว


              กลยุทธ์ สร้างตลาด โดยกำหนดเป้าหมายไว้ว่า เบียร์ลาว ต้องเป็น “เบียร์ของคนลาวทุกคน” เขายอมรับอย่างเปิดเผยกับว่า หลายกลยุทธ์ที่เขานำมาใช้ เป็นกลยุทธ์ที่ “เลียนแบบ” เบียร์สิงห์ของไทย “เราต้องเรียนรู้ของเพื่อนบ้านที่เขาประสบความสำเร็จ สิงห์เขาใช้ My Country My Beer ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของใคร เราเอามาใช้ ก็เป็น “เบียร์ลาว เมืองลาว” ก็เป็นที่ฮิต ที่ฮือฮา เป็นความภูมิใจของผู้บริโภค และเป็นกลยุทธ์การตลาดที่จับกลุ่มคนทุกชั้น ใช้อยู่ 2-3 ปี ก็เปลี่ยนสโลแกนมาเป็น “เบียร์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นความภาคภูมิใจของคนลาว” ซึ่งก็กินใจและเป็นที่ภูมิใจของชาวลาวอีก” การทำตลาดที่เน้นจิตสำนึกที่พยายามปลูกฝัง แม้จะขัดแย้งกับการตลาดแห่งยุคสมัยที่มุ่งเพิ่มยอดขายก็ตามแต่เบียร์จากต่างประเทศมาจากทุกแห่ง สไตล์ของเขาเน้นหาผู้บริโภค ยอดต้องขึ้น แต่ต้องการทำตลาดระยะยาว ให้ยั่งยืนเพื่อรักษาการรับรู้ในแบรนด์ บนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค” เบียร์ลาว มาถึงจุดเปลี่ยน เมื่อรัฐบาล สปป.ลาว มีนโยบายว่าถึงเวลาแล้วที่ เบียร์ลาว ควรจะก้าวสู่ความเป็นสากลหรือ "Go Inter” ท่านกิดสะหนาให้เครดิตรัฐบาล สปป. ลาว ว่าเป็นความฉลาดที่สร้างเงื่อนไขตอบสนองนโยบาย go inter ด้วยการหาผู้ร่วมทุนที่เป็นมืออาชีพเฉพาะด้าน นอกจากนี้ยังได้ปรับรูปโฉมของ บียร์ลาว ใหม่ เปลี่ยนโลโกจากรูปหัวเสือดำ เป็นรูปหัวเสือโคร่งสีเหลือง รวมทั้งออกสินค้าใหม่คือ เบียร์ลาวไลท์ พร้อมทั้งเตรียมขยายกำลังการผลิตจาก 90 ล้านลิตร เป็น 120 ล้านลิตร ซึ่งเป็นผลสำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น