สื่อประชาสัมพันธ์
วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลประชาสัมพันธ์
การโฆษณาประชาสัมพันธ์
แสดงถึงความมีวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของประเทศลาวทำให้เกิดการรับรู้ถึงวัฒนธรรมของคนลาวอย่างกว้างขวาง มีจัดทำสื่อสารการตลาดอย่างกว้างขวางลงโฆษณาผ่านสื่อต่างๆมากมาย เช่น
- สื่อทีวี - นิตยสาร
- คัดเอ๊าท์ บิลบอร์ด - หนังสือพิมพ์
อีกทั้งยังเป็นสปอนเซอร์สนับสนุนกิจกรรมต่างๆอย่างมากมายในประเทศไม่ว่าจะเป็นกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25 งานวัดงานประเพณีแข่งเรือหรือ อื่นๆ นอกจากนี้ยังทำสื่อโฆษณาในร้านค้า โชว์ห่วย ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร โรงแรม ภัตตาคาร แผงขายน้ำข้างทาง เพื่อเน้นย้ำในความความภาคภูมิใจในสินค้าลาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุด มีการจัดทำการประกวดมิสเบียร์ลาว“สาวเชียร์เบียรลาว”กับชุดเรียบร้อยแต่ดูมีเสน่ห์ คือการแต่งกายของสาวเบียร์ลาวที่เป็นชุดยูนิฟอร์มมิดชิดสวมเสื้อสีเหลืองรัดกุมนุ่งซิ่นลายสวยบางคนคาดเข็มขัดเงิน ดูงามแบบเรียบง่ายแต่มีเสน่ห์อยู่ในที นับเป็นความงามที่ชวนให้ผู้พิสมัยเบียร์ลาวดื่มด่ำรสชาติของเบียร์ชนิดนี้ได้มีอรรถรสมากขึ้นมาคอยบริการงานต่างๆด้านการดื่มเบียร์ลาว เช่น การสร้างปฏิทินเบียร์ลาวแบบไม่ต้อง Sexy เพื่อคัดเลือกสาวงามมาลงปฏิทินเบียร์ลาวมาถ่ายแบบด้วยเสื้อผ้าแบบลาวประยุกต์นุ่งซิ่นสวยงาม ดูน่ารักสุภาพ ไม่โป๊ยั่วยวนเหมือนปฏิทินโชว์นางแบบเหมือนประเทศอื่น
คู่แข่งขัน
คู่แข่งขันทางการตลาด
เบียร์ลาว ต้องเจอกับการแข่งขันเนื่องจากในตลาดเริ่มมีคู่แข่งเข้ามามากขึ้น ทั้งเบียร์ภายในประเทศยี่ห้อเบียร์สะหวันและเบียร์นำเข้าอย่างไฮเนเก้น สิงห์และลีโอที่มีวางจำหน่ายอยู่แล้วใน สปป.ลาว แต่คู่แข่งที่สำคัญคือไทเกอร์โดยบริษัทเอเชียแปซิฟิกบริวเวอรี่ส์ (Asia Pacific Breweries: APB) จากสิงคโปร์ ไทเกอร์ได้ออกเบียร์แบรนด์ใหม่ชื่อว่า "น้ำของ (น้ำโขง) " เพื่อหวังปูพรมในตลาดล่างโดยใช้สโลแกน “น้ำของของเรา เบียร์ของเรา” ทำให้เบียร์ลาวต้องผลิต "เบียร์ล้านช้าง"ออกสู่ตลาดเพื่อใช้เป็นไฟท์ติ้งแบรนด์ในตลาดล่างไทเกอร์เข้ามาทำตลาดเบียร์ในลาวใหม่ๆไทเกอร์ พยายามยกตลาดตนเองให้ขึ้นไปสูงกว่าเบียร์ลาวโดยการออก เบียร์น้ำของมาเพื่อหวังชนกับเบียร์ลาว แต่กลยุทธ์นี้ถูกตีกลับโดยเบียร์ลาวได้ออกเบียร์ล้านช้างมาดักไว้ก่อนและกดตลาดของไทเกอร์ลงมาอยู่ในระดับเดียวกับเบียร์ลาวแทนเบียร์ล้านช้าง เมื่อวางตำแหน่งเป็นคู่ต่อสู้ของน้ำของรสชาติของเบียร์จึงเข้มข้นเพื่อเน้นตลาดคอเบียร์ที่เน้นราคาถูก “เหมือนตอนช้างออกมาชนกับสิงห์ราคาถูกกว่า จ่ายน้อยดีกรีเยอะแต่พอมาคิดใหม่ทำให้ผู้บริโภคเห็นสินค้าเราโลว์เกินไปสำหรับแบรนด์เราเสียอิมเมจผู้บริโภคเวลาดื่มจะโชว์ออฟสั่งกินกับเพื่อนเบียร์ลาวสั่งได้แต่ล้านช้างทำให้เขารู้สึกตัวเองโลว์ลงกินแล้วไม่ภูมิใจ”ทำให้เบียร์ล้านช้างต้องจำหน่อยในชนบทมากกว่าในตัวเมืองจะไม่เห็นล้านช้าง เลยเราจะเข้าตามกลุ่มคนที่มีอำนาจซื้อในตลาดชนบท
ทำยังไงถึงรู้จักเบียร์ลาว
ทำไมเบียร์ลาวถึงได้เป็นที่รู้จัก
การได้มาเที่ยวเมืองลาวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องชิมเบียร์ลาวให้ได้ เบียร์ลาวนั้นอร่อยอย่างไร ทำไมนะนักท่องเที่ยวไม่ใช่เฉพาะจากเมืองไทยเท่านั้นที่พิศวาสเบียร์ลาว แต่เป็นนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่ชอบกินเบียร์ลาวเช่นกัน หากคนชอบเบียร์ไม่ขมมาก ออกหวานนิด หรือสาวๆ ที่ไม่ชอบเบียร์ขมๆ น่าจะถูกใจเบียร์ลาวกันแต่เบียร์ลาวก็เมาเหมือนเบียร์ทั่วๆไป กินง่ายกว่า หอมในแบบฉบับของเบียร์ลาวเอง และวัฒนธรรมขอบคนลาวที่นอบน้อมทำให้ชาวต่างชาติที่ได้มาเที่ยวประเทศลาวและได้มาชิมรสชาติของเบียร์ลาวต่างก็จะชื่นชอบในรสชาติเบียร์ลาวและได้ซื้อติดไม้ติดมือกลับไปให้คนที่บ้านได้ชิมกันต่างก็จะติดใจและกลับมาซื้อซ้ำอีก(เป็นการรู้จักแบบปากต่อปาก)
กลยุทธ์
กลยุทธ์การตลาดของเบียร์ลาว
กลยุทธ์ สร้างตลาด โดยกำหนดเป้าหมายไว้ว่า เบียร์ลาว ต้องเป็น “เบียร์ของคนลาวทุกคน” เขายอมรับอย่างเปิดเผยกับว่า หลายกลยุทธ์ที่เขานำมาใช้ เป็นกลยุทธ์ที่ “เลียนแบบ” เบียร์สิงห์ของไทย “เราต้องเรียนรู้ของเพื่อนบ้านที่เขาประสบความสำเร็จ สิงห์เขาใช้ My Country My Beer ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของใคร เราเอามาใช้ ก็เป็น “เบียร์ลาว เมืองลาว” ก็เป็นที่ฮิต ที่ฮือฮา เป็นความภูมิใจของผู้บริโภค และเป็นกลยุทธ์การตลาดที่จับกลุ่มคนทุกชั้น ใช้อยู่ 2-3 ปี ก็เปลี่ยนสโลแกนมาเป็น “เบียร์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นความภาคภูมิใจของคนลาว” ซึ่งก็กินใจและเป็นที่ภูมิใจของชาวลาวอีก” การทำตลาดที่เน้นจิตสำนึกที่พยายามปลูกฝัง แม้จะขัดแย้งกับการตลาดแห่งยุคสมัยที่มุ่งเพิ่มยอดขายก็ตามแต่เบียร์จากต่างประเทศมาจากทุกแห่ง สไตล์ของเขาเน้นหาผู้บริโภค ยอดต้องขึ้น แต่ต้องการทำตลาดระยะยาว ให้ยั่งยืนเพื่อรักษาการรับรู้ในแบรนด์ บนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค” เบียร์ลาว มาถึงจุดเปลี่ยน เมื่อรัฐบาล สปป.ลาว มีนโยบายว่าถึงเวลาแล้วที่ เบียร์ลาว ควรจะก้าวสู่ความเป็นสากลหรือ "Go Inter” ท่านกิดสะหนาให้เครดิตรัฐบาล สปป. ลาว ว่าเป็นความฉลาดที่สร้างเงื่อนไขตอบสนองนโยบาย go inter ด้วยการหาผู้ร่วมทุนที่เป็นมืออาชีพเฉพาะด้าน นอกจากนี้ยังได้ปรับรูปโฉมของเ บียร์ลาว ใหม่ เปลี่ยนโลโกจากรูปหัวเสือดำ เป็นรูปหัวเสือโคร่งสีเหลือง รวมทั้งออกสินค้าใหม่คือ เบียร์ลาวไลท์ พร้อมทั้งเตรียมขยายกำลังการผลิตจาก 90 ล้านลิตร เป็น 120 ล้านลิตร ซึ่งเป็นผลสำเร็จ
ประวัติ
ประวัติเบียร์ลาว
เบียร์ลาวผลิตโดยบริษัท Lao Brewery Co(LBC) ควบคุมโดย คุณกิดสะหนา วงไซ ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทเบียร์ลาว โดยรัฐบาลลาว มีฐานการผลิตอยู่ที่เวียงจันทน์ มีการเปิดโรงงานผลิตเพิ่มในแขวงจำปาสัก และในปี 2006 บริษัท Carlsberg ได้เพิ่มการถือหุ้นมาเป็น 50% แหล่งผลิตเบียร์ลาวที่สำคัญธุรกิจของ เบียร์ลาว เริ่มต้นใน ค.ศ.1972 ซึ่งขณะนั้นลาวยังปกครองในระบอบราชอาณาจักร โดยนักธุรกิจชาวฝรั่งเศสได้ร่วมทุนกับคนลาวเชื้อสายจีนด้วยเงินลงทุน 3.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งการถือหุ้นฝ่ายฝรั่งเศส 85% ลาว 15% ตั้งโรงงานผลิตเบียร์ขึ้นทางตอนใต้ของนครหลวงเวียงจันทน์บนหลักกิโลเมตรที่ 12 ถนนท่าเดื่อ ใกล้หมู่บ้านสารคาม ในเขตอำเภอหาดซายฟอง (Hatsayphong) ภายใต้ชื่อ “โรงงานเหล้าเบียร์และน้ำก้อนลาว”
เบียร์ลาว
Beerlao
เบียร์ลาว ภาษาลาวเขียนว่า "เขยลาว" แต่ไม่ได้อ่านว่าเขยลาว เพราะว่า บอใบไม้ของลาวเขาเขียนเหมือน ขอไข่บ้านเรา และสระเอียของลาวไม่มี หากเขียนเฉยๆ ไม่มีสระอีข้างบนก็จะออกเสียงเอียไปเลย ดังนั้นเบียร์ลาวไม่ว่าจะเขียนแบบไหน ภาษาไหนก็ออกเสียงว่าเบียร์ลาวเท่านั้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)